วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันอังคารที่ 24 มีนาคม 2558



วันนี้มีการสอบเก็บคะแนน

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2558


ก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์ก้มีการนำเกมทายใจมาเพื่อนกระตุ้นให้นักศึกษาไม่ง่วงและพร้อมที่จะเรียน



สำหรับบทเรียนในวันนี้คือ

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 

การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- เด็กอยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่ 

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ 
- การได้ทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง 
- เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ในสิ่งที่มีความรู้สึกดี 

หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) เพราะบางที เมื่อเด็กทำไม่ได้ ครูอาจจะสงสารเด็ก
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆ ให้เด็กมากจนเกินไป
-  ต้องให้เวลาเด็กในการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง 
- อย่าพูดคำว่า "หนูทำช่า", "หนูทำไม่ได้" ซึ่งเป็นการปิดโอกาสของเด็กในการทำสิ่งต่างๆ

จะช่วยเมื่อไหร่ 
- ในบางวันเด็กอาจไม่อยากทำอะไร, หงุดหงิด, เบื่อ, ไม่ค่อยสบาย
- เด็กอาจมาขอความช่วยเหลือในสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มาแล้ว 
- เด็กรู้สึกว่า ยังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับการช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม 

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง 
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ (การย่อยงาน)
- เรียงลำดับตามขั้นตอน

การวางแผนทีละขั้น 
- แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด 


กิจกรรมในวันนี้คือ สีสันในหัวใจ

แต่นแต๊นนน....


เมื่อระบายสีครบทุกคน อาจารย์ก้ได้นำต้นไม้มาให้นักศึกษานำสีสันที่ได้ระบายไปนั้นมาติดเป็นใบของต้นไม้ต้นนี้


เมื่อนำใบมาติด จึงกลายเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์




การประยุกใช้
- การนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการสอนในอนาคตได้
- การเปิดโอก่สให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง
- การชมเชยเมื่อเด็กทำได้
- ควรให้เวลาเด็กในการช่วยเหลลือตนเอง
- เรียงลำดับการย่อยงานให้กับด็กได้


การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจจดเนื้อหาเพิ่มเติม ตั้งใจจำกิจกรรมอย่างสนุกสนานและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่คุยกันเสียงดัง 
ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ตั้งใจเรียนและตอบคำถามต่างๆ จดบันทึกเนื้อหาต่างๆ ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์นำมาให้ บรรยากาศในห้องสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ : มาสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาที่ดี มีกิจกรรมที่สนุกสนานให้ทำอยู่เสมอ บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน มีเทคนิคการสอนที่ดี ทำให้เข้าใจอยูเสมอ แต่งกายสุภาพ 


วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 10 มีนาคม 2558


    ในวันนี้อาจารย์ได้อธิบายการสอบบรรจุข้าราชการ มีการสอบ ภาค ก. ภาค ข. และ มีการสอบสัมภาษณ์


  ก่อนเข้าบทเรียนมีการเล่นเกมทายใจสนุกๆกัน  



    หลังจากเกมทายใจก้จะเปิดวีดีโอ  ของโรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ  เป็นการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเรียนรวม  มีกิจกรรมดังต่อไปนี้   

1.) กิจกรรมที่นำจังหวะดนตรี และเสียงเพลงเข้ามาใช้ในกิจกรรม 
     - เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
     - กระโดด >> เด็กได้ฝึกการทรงตัว, การสัมพันธ์ซ้ายขวา

2.) กิจกรรม หยิบ ยก ส่ง 
     - เด็กส่งสิ่งของกับเพื่อนๆ
     - มีบทกลอนประกอบ

3.) กิจกรรม กระโดดประกอบอุปกรณ์ คือ ห่วง 
    - เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
    - มีเสียงดนตรี โดยครูเป่าขลุ่ยเป็นเพลง

4.) กิจกรรมโยน-รับลูกบอล
    - เด็กรู้จักการผ่อนหนักเบา

5.) กิจกรรมกิ้งกือ 
    - มีนิทาน และเพลงประกอบ

6.) กิจกรรมศืลปะสร้างสรรค์ 
     - วาดภาพระบายสีตามจินตนาการ

7.) กิจกรรมกลางแจ้ง
    - เด็กๆวิ่งเล่นกัน บริเวณนอกอาคารเรียน

8.) กิจกรรม รับ-ส่งลูกบอล ประกอบอุปกรณ์ คือ ห่วง 
    - เด็กโยนรับบอล และเดินข้ามไปทีละห่วง
    - ประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
    - เด็กรู้จักการผ่อนหนักเบา

  เนื้อหาในการเรียนสัปดาห์นี้ ต่อจากทักษะทางสังคม คือ  

2. ทักษะทางภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด หรือพูดไม่ชัด 
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง

การปฏิบัติของครู และผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำ หรือการพูดไม่ชัด
- ห้ามบอกกับเด็กว่า "พูดช้าๆ", "ตามสบาย", "คิดก่อนพูด"
- อย่าขัดจังหวะขณะที่เด็กกำลังพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่เด็กถนัด
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัด อาจเกี่ยวข้องกับการได้ยินด้วย

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย 
- การรับรู้ภาษา มาก่อนการแสดงออกทางภาษา (ฟังก่อนการพูด)
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูด มาก่อนภาษาพูด (สีหน้า, ท่าทาง)
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะ หากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดี และโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษจะได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่างหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

และมี กิจกรรม ดนตรีบำบัด   



  การนำไปประยุกต์ใช้   

- สามารถนำความรู้ที่ได้วันนี้ไปใช้ เช่น การสอบบรรจุข้าราชการ เป็นการบอกแนวทาง ได้ให้เราไปศึกษาต่อ และวางแผนชีวิตตัวเองได้อย่างถูกต้อง
- ได้เห็นกิจกรรมที่หลากหลายของห้องเรียนรวม และสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตในการฝึกสอน
- การส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียน สามารถนำชื่อของสิ่งของมาแปะไว้ให้เด็กดู และเขก้จะเกิดการจำว่า ของสิ่งนี้เขียนอย่างไรและคืออะไร
- เวลาเด็กพูด ไม่พูดขัดเด็ก และควรฟังเวลาเด็กพูด
- หากเด็กไม่พูด ครูต้องเรียกชื่อเด็กบ่อยๆ ทุกวัน จะทำให้เด็กสามารถพูดตามได้

  การประเมิน  

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ไม่พูดเสียงดัง ตั้งใจจดและำกิจกรรมต่างๆร่วมกันกับเพื่อน บรรยากาศในห้องเรียนไม่ตึงเครียด และมีเพื่อนอีกเซคมาเรียนด้วยเพราะตอนบ่ายอาจารย์มีธุระต่อ 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนส่วนใหญ่มาเรียนตรงเวลา แต่มีบ้างบางคนที่มาสาย ตั้งใจเรียนและจดบันทึกเนื้อหา คุยกันบ้างแต่ไม่ได้เสียงดังมาก ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
ประเมินอาจารย์ : มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ ตั้งใจสอน มีความรู้ต่างๆมาบอกนักศึกษาเสมอ สามารถทำบรรยากาศให้น่าเรียนอยู่เสมอ มีการยกตัวอย่างเนื้อหาที่เรียนเสมอเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น มีกิจกรรมสนุกๆมาให้ไดทำกันเสมอ  


วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 3 มีนาคม 2558


 ก่อนเริ่มการเรียน มีกิจกรรมสนุกๆให้นักศึกษาได้ทำกัน เพื่อให้เกิดความสนุกสนานก่อนที่จะเริ่มการเรียน กิจกรรมนั้นคือ เกมทายใจรถไฟเหาะ ^^




  เนื้อหาในการเรียนวันนี้คือ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ  

1. ทักษะทางสังคม
    - การที่เด็กพิเศษขาดทักษะทางสังคมนั้น ไม่ได้เกิดจาพ่อแม่
    - พัฒนาการของเด็กไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี แต่ขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง

   กิจกรรมการเล่น 
    - การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
    - เด็กจะสนใจกันเอง โดยอาศัยการเล่นเป็นสื่่อ
    - ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอิ่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่ น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
    - เด็กจะเลียนแบบการเล่นของเพื่อน

   ยุทธศาสตร์การสอน 
    - เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีการเล่น
    - ครูจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
    - ครูต้องจดบันทึก และเขียนแผน IEP

    การกระตุ้นการเลียนแบบ
 - วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
 - คำนึงถึงเด็กทุกคน
 - ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
 - เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ


     ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
    - อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
    - ยิ้ม และพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
    - ไม่ชมเชย หรือสนใจเด็กมากจนเกินไป
    - เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
    - ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม


    การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
    - ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน
    - ทำโดย " การพูดนำของครู "


    ช่วยเด็กทุกคนให้รู้ กฎเกณฑ์
    - เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
    - การให้โอกาสเด็ก
    - ครูไม่ต้องใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง


  ต่อไปคือ กิจกรรม ดนตรีบำบัด  

กิจกรรมคู่


จากเส้นที่เห็น มองเห็นเป็นอะไรได้บ้าง คู่ของดิฉันมองเป็น


จากรูปก้จะมี ไดโนเสาร์ มังกร นกเป็ดน้ำ หนอน แว่น ลูกน้ำ แลปลาทู


  เพลงสำหรับเด็กอนุบาลในวันนี้  




  การประเมิน  

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม ไม่คุยเสียงดัง ตั้งใจทำกิจกรรม ให้ความร่วมมือในการทำงานต่างๆ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจร้องเพลง เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือขณะทำกิจกรรม ไม่คุยเสียงดัง แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่ดี สามารถทำให้บรรยากาศในห้องเรียนไม่น่าเบื่อ ทำให้นักศึกษาอยากเรียน ตั้งใจฟังอยู่เสมอ แต่งกายสุภาพ มาสอนตรงเวลา