วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 
วันอังคารที่ 27 มกราคม 2558





ในสัปดาห์นี้มีกิจกรรม และบทเรียนเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

  กิจกรรมแรก ให้นักศึกษาสเก็ตรูปดอกทานตะวัน และบรรยายสิ่งที่เห็นในภาพ


   ผลงานของดิฉัน   


  บทบาทครูในห้องเรียนรวม  

ครูไม่ควรวินิจฉัย 
- การวิจนิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยการดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง 
- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือประเภทให้เด็ก
- เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กไปตลอด
- เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีอย่างอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็ก มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
- ไม่ต้องย้ำในสิ่งที่เขารู้แล้ว
- พูดในสิ่งที่คาดหวังได้ในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดใความหวังผิดๆ
- รายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
- ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยเด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง ?
- ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ให้คำแนะนำในการหาบุคคลที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
- ไม่มีใครสังเกตเด็กได้ดีเท่าครู
- ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
- ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆ
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
- การนับอย่างง่ายๆ
    -นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
    - กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
    - ระยะเวลาใการเกิดพฤติกรรม
- การบันทึกต่อเนื่อง
    - ให้รายละเอียดได้มาก
    - เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
    - ไม่ต้องไปแนะนำช่วยเหลือ
- การบันนทึกไม่ต่อเนื่อง
    - บันทึกลงบัตรเล็กๆ
    - เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
- ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
- พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


   กิจกรรมที่ 2  ร้องเพลง   



   ประเมินการเรียนการสอน   
ประเมินตนเอง  :  มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมวาดภาพ แม้จะวาดได้ไม่สวยแต่ก้พยายามเต็มความสามารถ ไม่คุยเสียงดังขณะเรียน บันทึกเนื้อหาที่ไม่มีในชีทเพิ่มเติม ให้ความร่วมมือในการร้องเพลงเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน  : แต่งกายถูกต้องตามระเบียบด้วยชุดสีชมพูทั้งห้อง คุยกันบ้าง อาจจะโดนอาจารย์ดุไปบ้าง แต่ก้ตั้งใจเรียน  ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามและการทำกิจกรรม ร้องเพลงเต็มเสียง
ประเมินอาจารย์  : อาจารย์มีความตั้งใจในการสอนเป็นอย่างดี มีมุกตลก ทำในบรรยากาศในการเรียนสนุกสนาน มีการเล่าถึงประสบการณ์ที่อาจารย์ได้เจอมาเล่าให้นักศึกษาฟัง เพื่อให้เข้าใจในบทเรียน ทุ่มเทเพื่อนักศึกษา ทั้งการเรียนและการร้องเพลง 


วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันอังคารที่ 20 มกราคม 2558




วันนี้เป็นการบรรยายเนื้อหา รูปแบบการจัดการศึกษา

   รูปแบบการจัดการศึกษา   
- การศึกษาปกติทั่วไป ( Regular Education )
- การศึกษาพิเศษ ( Special Education )
- การศึกษาแบบเรียนร่วม ( Integrated Education หรือ Mainstreaming )
- การศึกษาแบบเรียรวม ( Inclusive Education )

   การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ   
- เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา


   ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม   
 ( Integrated Education หรือ Mainstreaming )  
- การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป ใช้หลักสูตรเดียวกับเด็กปกติ
- มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปทำร่วมกัน
- ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
- ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมกัน

   การเรียนร่วมกันบางเวลา ( Integration )   
- การจัดให้เด็กพิเศษเรียในโรงเียนในเวลาปกติในบางเวลา  เช่น การเรียน ดนตรี ศิลปะ เคลื่อนไหว มาเรียนร่วมกัน แต่จะไม่ค่อยมาเรียนในวิชาเสริมประสบการณ์ เพราะยากเกินไป
- เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
- เด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

   การเรียร่วมเต็มเวลา ( Mainstreaming )   
- การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
- เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเียรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
- มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
- เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ  ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน

   ความหมายของการศึกษาแบบเรียรวม ( Inclusive Education )   
- การศึกษาสำหรับทุกคน
- รับเด็กเข้ามาเรียนร่วมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
- จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
- เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
- เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน
- การเรียนร่วม จะต้องจัดการศึกษาให้กับทุกคนโดยไม่แบ่งแยกเด็กพิเศษกับเด็กปกติ
- เด็กเลือกโรงเรียน ไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
- เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้าโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม
- ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านี้ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

   ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย   
- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- "สอนได้"
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด


หลังจากบรรยาย ก็มีการร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย และ อาจารย์ก็แจกใบงานมาให้ตอบคำถามในห้อง


   ประเมินการเรียนการสอน   
ประเมินตนเอง  : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตั้งใจตอบคำถาม แต่งกายเรียบร้อย ไม่คุยเสียงดัง ให้ความร่วมมือในการร้องเพลงเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน  :  มาเรียนตรงเวลา บางคนอาจจะมาช้าบ้าง ตั้งใจเรียน ตั้งใจตอบคำถามของอาจารย์ ตั้งใจร้องเพลง ให้ความร่วมมือในการเรียน
ประเมินอาจารย์  :  เข้าสอนตรงเวลาโดยมีการแจ้งย้ายเวลาเรียน แต่งกายสุภาพ ตั้งใจสอน สอนเข้าใจในทุกเนื้อหา ให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องเป็นอย่างดี ให้ความสนใจนักศึกษาในการเรียนทุกครั้ง มีการยกตัวอย่างให้ฟังเพื่อให้เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น และให้เทคนิคในการสอนเด็กพิเศษอีกด้วย


วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
วันอังคารที่ 13 มกราคม 2558


1. อาจารย์แจก Course Syllabus และอธิบายแนวการสอนและการให้คะแนนในรายวิชานี้
2. อาจารย์เล่าเรื่องราวจากที่พาพี่ปี 4 ไปทำกิจกรรมที่บุรีรัมย์
3. อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบวิชา เด็กพิเศษของเทอมที่แล้วเพื่อเป็นแนวทางในการเรียนในรายวิชานี้ให้เข้าใจมากขึ้น
4. อาจารย์แจกคำถามที่จะทดสอบความรู้พื้นฐาน ของรายวิชา เช่
   ( 4.1) เด็กพิเศษมีกี่ประเภท อะไรบ้าง 
          แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 
              1. เด็กปัญญาเลิศ
              2. เด็กที่มีความบกพร่อง แบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ เด็กดาวน์ซินโดรม ออทิสติก  LD  CP สมาธิสั้น เด็กที่พิการทางร่างกาย พิการทางด้านการมองเห็น พิการทางด้านการได้ยิน
    (4.2) การศึกษาแบบเรียนรวม คืออะไร
          การเรียนรวมกันสำหรับเด็กพิเศษ และเด็กปกติ
    (4.3) ชื่อรายวิชา
          การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
5. อาจารย์สอนร้องเพลง เนื้อเพลงเหล่านี้จะช่วยบำบัดเด็กสมาธิสั้นได้ โดยไม่ต้องสั่งแต่เด็กจะทำเองเมื่อได้ยินเสียงเพลง




  ประเมินการเรียนการสอน  

ประเมินตนเอง :  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง ตั้งใจตอบคำถาม ไม่คุยเยอะ ตั้งใจร้องเพลง แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ทำกิจกรรมร้องเพลง ถึงแม้ว่า เสียงยังเพี้ยนอยู่ แต่ก้ตั้งใจร้องอย่างเต็มความสามารถ
ประเมินเพื่อน :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟัง ไม่คุยเสียงดัง พยายามร้องกันอย่างเต็มความสามารถ บางคนก้ร้องเพราะ บางคนก้เพี้ยนบ้างตามประสา  ปต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ ตั้งใจสอน อธิบายได้อย่างเข้าใจ บรรยากาศในการเรียนครื้นเครง แต่ก้เข้าใจในบทเรียนเป็นอย่างดี ตั้งใจสอนนักศึกษาร้องเพลง