วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2558


วันนี้เป็นการสอบร้องเพลง 
โดยอาจารย์จับฉลากเลขที่ของนักศึกษาแล้วให้นักศึกษามาหยิบฉลากเพลงในการสอบ
ดิฉันได้เพลง " จ้ำจี้ดอกไม้ "

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 21 เมษายน 2558


กิจกรรมก่อนเรียนเป็นเกมทายใจสนุกๆมาให้นักศึษามาเล่นกัน ชื่อว่า ดิ่งพสุธา 


  เนื้อหาในการเรียนวันนี้  

    แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น โดยคณะกรรมการ, ผู้บรหาร, ครู
-เพื่อให้เด็กได้รับการสอน และช่วยเหลือฟิ้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการ
  และความสามารถของเขา
- จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- ระบุวันเริ่มต้น และสิ้นสุดการใช้แผน และวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
- เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถ ของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาว / ระยะสั้น
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก 
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
  ได้รับการศึกษา และฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง และเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถ และความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอน และวิธีการสอนให้เกมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียน และเขียนรายงานพัฒนาการ ความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบ และประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนรายบุคคล
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง
  และใกล้ชิดระหว่างบ้าน กับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคล 

1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง, ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว และระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรม และกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรอง แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว - กำหนดให้ชัดเจน กว้างๆ
การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น - ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก

เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเด็ก โดยคำนึงถึง
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2. ตัวชี้วัดพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล 
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละ 1 ครั้ง กรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

   กิจกรรมหลังเรียน : แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล    
เป็นกิจกรรมกลุ่ม โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกเพื่อน 1 คนเป็นเด็กพิเศษ
จากนั้นช่วยกันคิดวิเคราะห์ว่าจะเขียนแผน IEP อย่างไร

   การประยุกต์ใช้
- มีแนวทางการเขียนแผน IEP เพื่อไปปรับใช้ในอนาคตได้
- ได้ทราบว่าการเขียนแผนนั้นต้องรู้จุดเด่นและจุดด้อยของเด็กเพื่อจะเขียนแผน IEP มาพัฒนาเด็ก
- การเขียนแผนต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
- ประเมินเด็กจากการสังเกตและพฤติกรรมของเขาโดยที่คุณครูจะต้องบันทึกรายละเอียดตามความจริงจากที่เห็น

   การประเมินผล
ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ไม่คุยในเวลาเรียน ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม สนุกสนานเป็นกันเองกับสมาชิกในกลุ่ม
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมาเรียนครบ ตั้งใจเรียน ไม่คุยเสียงดัง แต่งกายเรียบร้อย ช่วยกันระดมความคิดในการเขียนแผน IEP เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ : ให้ความรู้และคำปรึกษาที่ดีแก่นักศึกษา เป็นกันเอง เมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจอาจารย์ก้จะอธิบายให้ฟัง มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย


วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 
วันอังคารที่  7  เมษายน  2558


        ในวันนี้อาจารย์เบียร์ได้แจกสีให้กับนักศึกษาคนละกล่อง เป็นสีไม้คอนลีน จำนวน 24 สี

เนื้อหาในการเรียนวันนี้
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน 

เป้าหมาย 
- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
- อยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
- เด็กจะเรียนรู้จากการเลียนแบบ

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนหรือไม่
*ควรซ้ำหลายๆรอบ และสังเกตปฎิกิริยาตอบสนองของเด็ก *

การรับรู้การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก 
- การกรอกน้ำตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ 
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ 
- รูปต่อที่มีจำนวนขิ้นไม่มาก

ความจำ
  - จากการสนทนา
  - เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  - แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง 
  - จำตัวละครในนิทาน

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 
    - มิติสัมพันธ์ 
    - การวัด
    - การตวง
    - การชั่ง
    - การเปรียบเทียบ

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ 
- ให้งานเด็กชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน 
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง 
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย 
- จดบันทึกว่าเด็กชอบทำอะไรมากที่สุด 
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง 
- พูดในทางที่ดี (การชม)
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก 

การประยุกต์ใช้
- เด็กมีช่วงเวลาความสนใจสั้น ดังนั้นครูควรฝึกสมาธิให้กับเด็ก
- เด็กเรียนรู้จากการลอกเลียนแบบ ครูจึงต้องหาบัดดี้ที่สามารถเป็นแบบอย่างให้กับเด็ก
- อุปกรณ์ต่างๆต้องมีขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก
- ครูต้องคอยถาม ชี้นำชี้แนะให้กับเด็ก และพูดชื่นชมเมื่อเขาทำได้

การประเมิน
ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา่ แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ตั้งใจฟังและจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมที่ได้จากการเรียน ไม่คุยเสียงดัง ร่าเริงยิ้มแย้มสนุกสนานในการเรียน
ประเมินเพื่อน : มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟัง ไม่คุยกันเสียงดัง จดบันทึกเนื้อหาต่างๆ ให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ ทุ่มเทในการสอน บรรยากาศในห้องก็เป็นไปอย่างครึกครื้น ไม่เงียบจนเกินไป อาจารย์ถามนักศึกษาก็ช่วยกันตอบเป็นอย่างดี


 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันอังคารที่  31  มีนาคม  2558


        วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ให้นักศึกษามาช่วยกันทำอุปกรณ์และจัดแสตนในการจัดกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันอังคารที่ 24 มีนาคม 2558



วันนี้มีการสอบเก็บคะแนน

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2558


ก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์ก้มีการนำเกมทายใจมาเพื่อนกระตุ้นให้นักศึกษาไม่ง่วงและพร้อมที่จะเรียน



สำหรับบทเรียนในวันนี้คือ

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 

การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- เด็กอยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่ 

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ 
- การได้ทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง 
- เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ในสิ่งที่มีความรู้สึกดี 

หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) เพราะบางที เมื่อเด็กทำไม่ได้ ครูอาจจะสงสารเด็ก
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆ ให้เด็กมากจนเกินไป
-  ต้องให้เวลาเด็กในการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง 
- อย่าพูดคำว่า "หนูทำช่า", "หนูทำไม่ได้" ซึ่งเป็นการปิดโอกาสของเด็กในการทำสิ่งต่างๆ

จะช่วยเมื่อไหร่ 
- ในบางวันเด็กอาจไม่อยากทำอะไร, หงุดหงิด, เบื่อ, ไม่ค่อยสบาย
- เด็กอาจมาขอความช่วยเหลือในสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มาแล้ว 
- เด็กรู้สึกว่า ยังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับการช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม 

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง 
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ (การย่อยงาน)
- เรียงลำดับตามขั้นตอน

การวางแผนทีละขั้น 
- แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด 


กิจกรรมในวันนี้คือ สีสันในหัวใจ

แต่นแต๊นนน....


เมื่อระบายสีครบทุกคน อาจารย์ก้ได้นำต้นไม้มาให้นักศึกษานำสีสันที่ได้ระบายไปนั้นมาติดเป็นใบของต้นไม้ต้นนี้


เมื่อนำใบมาติด จึงกลายเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์




การประยุกใช้
- การนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการสอนในอนาคตได้
- การเปิดโอก่สให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง
- การชมเชยเมื่อเด็กทำได้
- ควรให้เวลาเด็กในการช่วยเหลลือตนเอง
- เรียงลำดับการย่อยงานให้กับด็กได้


การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจจดเนื้อหาเพิ่มเติม ตั้งใจจำกิจกรรมอย่างสนุกสนานและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่คุยกันเสียงดัง 
ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ตั้งใจเรียนและตอบคำถามต่างๆ จดบันทึกเนื้อหาต่างๆ ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์นำมาให้ บรรยากาศในห้องสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ : มาสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาที่ดี มีกิจกรรมที่สนุกสนานให้ทำอยู่เสมอ บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน มีเทคนิคการสอนที่ดี ทำให้เข้าใจอยูเสมอ แต่งกายสุภาพ 


วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 10 มีนาคม 2558


    ในวันนี้อาจารย์ได้อธิบายการสอบบรรจุข้าราชการ มีการสอบ ภาค ก. ภาค ข. และ มีการสอบสัมภาษณ์


  ก่อนเข้าบทเรียนมีการเล่นเกมทายใจสนุกๆกัน  



    หลังจากเกมทายใจก้จะเปิดวีดีโอ  ของโรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ  เป็นการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเรียนรวม  มีกิจกรรมดังต่อไปนี้   

1.) กิจกรรมที่นำจังหวะดนตรี และเสียงเพลงเข้ามาใช้ในกิจกรรม 
     - เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
     - กระโดด >> เด็กได้ฝึกการทรงตัว, การสัมพันธ์ซ้ายขวา

2.) กิจกรรม หยิบ ยก ส่ง 
     - เด็กส่งสิ่งของกับเพื่อนๆ
     - มีบทกลอนประกอบ

3.) กิจกรรม กระโดดประกอบอุปกรณ์ คือ ห่วง 
    - เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
    - มีเสียงดนตรี โดยครูเป่าขลุ่ยเป็นเพลง

4.) กิจกรรมโยน-รับลูกบอล
    - เด็กรู้จักการผ่อนหนักเบา

5.) กิจกรรมกิ้งกือ 
    - มีนิทาน และเพลงประกอบ

6.) กิจกรรมศืลปะสร้างสรรค์ 
     - วาดภาพระบายสีตามจินตนาการ

7.) กิจกรรมกลางแจ้ง
    - เด็กๆวิ่งเล่นกัน บริเวณนอกอาคารเรียน

8.) กิจกรรม รับ-ส่งลูกบอล ประกอบอุปกรณ์ คือ ห่วง 
    - เด็กโยนรับบอล และเดินข้ามไปทีละห่วง
    - ประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
    - เด็กรู้จักการผ่อนหนักเบา

  เนื้อหาในการเรียนสัปดาห์นี้ ต่อจากทักษะทางสังคม คือ  

2. ทักษะทางภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด หรือพูดไม่ชัด 
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง

การปฏิบัติของครู และผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำ หรือการพูดไม่ชัด
- ห้ามบอกกับเด็กว่า "พูดช้าๆ", "ตามสบาย", "คิดก่อนพูด"
- อย่าขัดจังหวะขณะที่เด็กกำลังพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่เด็กถนัด
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัด อาจเกี่ยวข้องกับการได้ยินด้วย

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย 
- การรับรู้ภาษา มาก่อนการแสดงออกทางภาษา (ฟังก่อนการพูด)
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูด มาก่อนภาษาพูด (สีหน้า, ท่าทาง)
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะ หากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดี และโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษจะได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่างหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

และมี กิจกรรม ดนตรีบำบัด   



  การนำไปประยุกต์ใช้   

- สามารถนำความรู้ที่ได้วันนี้ไปใช้ เช่น การสอบบรรจุข้าราชการ เป็นการบอกแนวทาง ได้ให้เราไปศึกษาต่อ และวางแผนชีวิตตัวเองได้อย่างถูกต้อง
- ได้เห็นกิจกรรมที่หลากหลายของห้องเรียนรวม และสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตในการฝึกสอน
- การส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียน สามารถนำชื่อของสิ่งของมาแปะไว้ให้เด็กดู และเขก้จะเกิดการจำว่า ของสิ่งนี้เขียนอย่างไรและคืออะไร
- เวลาเด็กพูด ไม่พูดขัดเด็ก และควรฟังเวลาเด็กพูด
- หากเด็กไม่พูด ครูต้องเรียกชื่อเด็กบ่อยๆ ทุกวัน จะทำให้เด็กสามารถพูดตามได้

  การประเมิน  

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ไม่พูดเสียงดัง ตั้งใจจดและำกิจกรรมต่างๆร่วมกันกับเพื่อน บรรยากาศในห้องเรียนไม่ตึงเครียด และมีเพื่อนอีกเซคมาเรียนด้วยเพราะตอนบ่ายอาจารย์มีธุระต่อ 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนส่วนใหญ่มาเรียนตรงเวลา แต่มีบ้างบางคนที่มาสาย ตั้งใจเรียนและจดบันทึกเนื้อหา คุยกันบ้างแต่ไม่ได้เสียงดังมาก ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
ประเมินอาจารย์ : มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ ตั้งใจสอน มีความรู้ต่างๆมาบอกนักศึกษาเสมอ สามารถทำบรรยากาศให้น่าเรียนอยู่เสมอ มีการยกตัวอย่างเนื้อหาที่เรียนเสมอเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น มีกิจกรรมสนุกๆมาให้ไดทำกันเสมอ