วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันอังคารที่ 10 กุมพาพันธ์ 2558



  กิจกรรม  สเก็ตภาพจากมือ   



ข้อคิดจากกิจกรรมนี้คือ การที่เราจำแล้วนำไปบันทึก เราอาจจะทำได้ไม่หมด อาจจะมีการแต่งเติมไปบ้าง ดังนั้นการจดพฤติกรรมเด็ก ควรจดตอนนั้นเลย และควรมองเด็กพิเศษเป็นคนๆไป

  การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ  
 ทักษะของครูและทัศนะคติ 
- ครูต้องมองเด็กในภาพรวม มองเด็กให้เท่าเทียมกัน

  การฝึกเพิ่มเติม  
- อบรมระยะสั้น , สัมมนา
- สื่อต่างๆ  - เว็ป
                 - โทรทัศน์ครู   เป็นต้น

   การเข้าใจภาวะปกติ   
- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
- ครูต้องเรียนรู้ , มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกตอและเด็กพิเศษ
- รู้จักเด็กแต่ละคน
- มองให้เด็กเป็นเด็ก

  การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า  
- เข้าใจพัฒนาการของเด็ก มองเห็นความแตกต่างของเด็ก

  ความพร้อมของเด็ก  
- วุฒิภาวะ
- แรงจูงใจ
- โอกาส

   การสอนโดยบังเอิญ   
- เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
- เด็กเข้าหาครูมากทำให้มีโอกาสสอนขึ้นมากเท่านั้น
- พร้อมจะพบเด็กเสมอ
- มีความสนใจเด็ก
- มีความรู้สึกดีต่อเด็ก
- มีอุปกรณ์กิจกรรมล่อใจเด็ก
- มีความตั้งใจจะช่วยให้เด็กแต่คนละได้เรียนรู้
- ใช้เวลาติดต่อไม่นาน
- ทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน

  อุปกรณ์  
- มีลักษณะง่ายๆ
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้และเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

  ตารางประจำวัน  
- เด็กพิเศษไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
- กิจกรรมเด็กต้องคาดเดาได้
- เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
-สลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับที่เคลื่อนไหวมากๆ
- คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

  ทัศนะคติของครู  
ความยืดยุ่น
- แก้แผนการสอนให้เหมาะกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

  การใช้สหวิทยาการ  
- ใจกว้างต่อคำคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

  การเปลี่ยแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้  
เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

  เทคนิคการให้แรงเสริม  
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่นั้นสำคัญมาก
- มีแนมโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
- หากผู้ใหญ่ไม่สนในพฤติกรรมที่ดีนั้นๆ ก็จะลดลงและหายไป

  วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่  
- ตอบสนองด้วยวาจา
- การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
- พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
- สัมผัสทางกาย
- ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก

  หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย  
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
-ครูต้องไม่สนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
- ครูให้ความสนใจเด็กเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์

  การแนะนำหรือบอกบท  
- ย่องาน
- ลำดับความยากง่ายของงาน
- การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ

  ขั้นตอนการให้แรงเสริม  
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งาน กำหนดจุดย่อยๆของงานแต่ละชิ้น
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้แรงเสริมเมื่อเด็กทำได้ พรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวขั้นต่อไป
- ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
- ทีละขั้น ไม่เร่งรัด
- ไม่ดุหรือตี

  การกำหนดเวลา  
- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม

  ความต่อเนื่อง   
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
- การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง

  การลดหรือ หยุดแรงเสริม  
- ครูงดเสริมแรงกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากของเล่น

  ความคงเส้นคงวา   
- ครูต้องเสมอต้นเสมอปลายกับเด็ก

  ประเมินการเรียนการสอน  
ประเมินตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจตอบคำถาม จดเนื้อหาเพิ่มเติม
ให้ความร่วมมือในการร้องเพลง
ประเมินเพื่อน  : มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการเรียน ไม่คุยเสียงดัง ตั้งใจจดบันทึกและร้องเพลง
ประเมินอาจารย์  : มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  ตั้งใจสอน ให้คำแนะนำที่ดี อธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ มีการนำตัวอย่างมาเล่าให้ฟัง สอนร้องเพลง บอกเทคนิคต่างๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น